SIMMPRO Maintenance Management Software
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

การใช้หม้อไอน้ำอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ปลอดภัย และ ประหยัดพลังงาน

Go down

การใช้หม้อไอน้ำอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ปลอดภัย และ ประหยัดพลังงาน Empty การใช้หม้อไอน้ำอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ปลอดภัย และ ประหยัดพลังงาน

ตั้งหัวข้อ  ENGINEER Sun Sep 13, 2009 2:26 pm

การใช้หม้อไอน้ำอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ปลอดภัย และ ประหยัดพลังงาน มีวิธีการดังนี้

1. ดำเนินการตรวจทดสอบความปลอดภัยในการใช้หม้อไอน้ำเป็นประจำทุกปี และจัดส่งเอกสารรับรองความปลอดภัยในการใช้หม้อไอน้ำต้นฉบับไปให้แก่สำนักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อพิจารณาตามกำหนด สำหรับท่านผู้ประกอบการที่ใช้หม้อไอน้ำหลายเครื่องในโรงงานเดียวกัน และมีเครื่องใดที่มีขนาดกำลังการผลิตไอน้ำ ตั้งแต่ 20 ตัน/ชั่วโมงขึ้นไป จะขอความเห็นชอบจากท่านอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อขยายการตรวจสอบความปลอดภัยในการใช้หม้อไอน้ำ จาก 1 ปี แต่ไม่เกิน 3 ปี/ครั้ง ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 26(พ.ศ.2534)ก็ได้

2. มีการขึ้นทะเบียนผู้ควบคุมหม้อไอน้ำต่อกรมโรงงานอุตสาหกรรมแล้ว ผู้ควบคุมไอน้ำต้องมีคุณสมบัติ คือต้องจบ ปวช.ช่างยนต์ ช่างกลโรงงาน หรือช่างผู้เชี่ยวชาญงาน ที่ผ่านการอบรมหลักสูตร ผู้ควบคุมหม้อไอน้ำที่ต้องขึ้นทะเบียน/หนึ่งโรงงานนั้น ในประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมไม่ได้กำหนดไว้ แต่ขอเสนอแนะว่า

- ถ้ามีการใช้หม้อไอน้ำในการทำงาน 1 กะ ควรให้ขึ้นทะเบียนอย่างน้อย 1 คน
- ถ้ามีการใช้หม้อไอน้ำในการทำงาน 2 กะ ควรให้ขึ้นทะเบียนอย่างน้อย 2 คน
- ถ้ามีการใช้หม้อไอน้ำในการทำงาน 3 กะ ควรให้ขึ้นทะเบียนอย่างน้อย 3 คน


การใช้หม้อไอน้ำอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ปลอดภัย และ ประหยัดพลังงาน BOILERSAFETY

คำเตือน : ถ้า ท่านผู้ประกอบกิจการต้องใช้หม้อไอน้ำถึง 3 กะ หรือตลอด 24 ชั่วโมง แล้วแต่ท่านผู้ประกอบกิจการไปขึ้นทะเบียนผู้ควบคุมหม้อไอน้ำเพียงคนเดียว ท่านคิดหรือไม่ว่า กะที่2 และกะที่3 ใครจะเป็นผู้ควบคุมหม้อไอน้ำ หรือท่านจะปล่อยปะละเลยให้มีการใช้หม้อไอน้ำ โดยไม่มีผู้ควบคุมหม้อไอน้ำอย่างนั้นหรือ สำหรับกรณีดังกล่าวนี้ ถือได้ว่าท่านกำลังเสี่ยงต่ออันตรายจากหม้อไอน้ำจนเกินไป

3. ควรมีการขึ้นทะเบียนวิศวกรรมควบคุมและอำนวยการใช้หม้อไอน้ำ หากมีการใช้หม้อไอน้ำที่มีขนาดกำลังการผลิตไอน้ำตั้งแต่ 20 ตัน/ชั่วโมง/1 เครื่องขึ้นไป

4. หม้อไอน้ำที่ใช้งานและยังไม่มีการรั่วซึม ไม่ผุกร่อน ไม่ชำรุดทรุดโทรม ควรบำรุงรักษาอยู่เสมอ

5. ควรมีการปรับปรุงคุณภาพน้ำ สำหับเติมเข้าหม้อไอน้ำให้เหมาะสม ซึ่งเป็นการป้องกันมิให้เกิดตะกรัน การผุกร่อน และความเสียหายอื่นๆภายในหม้อไอน้ำอย่างสม่ำเสมอ

6. ควรมีการนำน้ำคอนเดนเสท(condensate) กลับมาเติมเข้าหม้อไอน้ำใหม่ เนื่องจากน้ำคอนเดนเสทยังมีปริมาณความร้อนอยู่มาก นั่นก็หมายถึง เป็นการช่วยประหยัดพลังงานได้อีกทางหนึ่ง ซึ่งในบางโรงงานอุตสาหกรรมก็ปล่อยน้ำคอนเดนเสททิ้งไปเปล่า ก็มีมากมาย คำแนะนำ น้ำที่ใช้เติมเข้าหม้อไอน้ำ หรือที่เราเรียกกันว่า น้ำเลี้ยงหม้อไอน้ำ (feed water boiler) ถ้าอุณหภูมิของน้ำเพิ่มจากเดิมทุกๆ 6 องศาเซลเซียล เราจะสามารถลดปริมาณการใช้เชื้อเพลิงได้ถึง 1 % อีกทั้งยังสามารถลดปริมาณการใช้น้ำดิบ และสารเคมีที่ต้องทำการปรับปรุงคุณภาพน้ำ เพื่อใช้สำหรับเติมเข้าหม้อไอน้ำอีกด้วย

7. การปรับแต่งหัวเผา(burner) ให้สังเกตสีของเปลวไฟในห้องเผาไหม้ หรือมีการปรับปริมาณลมที่ใช้ในการเผาไหม้ กรณีที่ใช้เชื้อเพลิงแข็งให้มีความเหมาะสม เพื่อการเผาไหม้ที่สมบูรณ์อย่างสม่ำเสมอ

8. ควรหุ้มฉนวนตัวหม้อไอน้ำ วาล์วต่างๆ ท่อจ่ายไอน้ำ ตลอดจน อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ไอน้ำ เพื่อเป็นการป้องกันการสูญเสียความร้อนเป็นอย่างดีเหล่านี้ ท่านผู้ประกอบกิจการโรงงานอุตสาหกรรม จะเห็นได้ว่า เป็นการดำเนินการที่ไม่ยุ่งยากนัก โดยที่ท่านควรปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักการเสียก่อนเพื่อความปลอดภัย และประหยัดพลังงาน รวมถึงเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายได้อีกทางหนึ่งที่ดี เพื่อเป็นการป้องกันการสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินที่ท่านไม่ควรจะเสียไปนั่นเอง

ENGINEER
ผู้มาเยือน


ขึ้นไปข้างบน Go down

ขึ้นไปข้างบน


 
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ