ก่อนจะซื้อหม้อไอน้ำ(Boiler) ควรทำอย่างไร?
หน้า 1 จาก 1
ก่อนจะซื้อหม้อไอน้ำ(Boiler) ควรทำอย่างไร?
หลายๆ ท่านคงตั้งคำถามนี้เมื่อวันหนึ่งที่โรงงานของเราจำเป็นใช้หม้อไอน้ำ(Boiler) ก่อนอื่นเลยเราต้องรู้ก่อนว่าเราจรู้อะไร และเตรียมอะไรบ้างในเบื้องต้นครับ
1. ขนาดหม้อไอน้ำ(Boiler)? ที่เราต้องการใช้ กี่กิโลกรัมต่อชั่วโมง กี่ตันต่อชั่วโมง ยังไม่รู้ก็อาจให้ตัวแทนจำหน่าย Boiler หรือผู้ผลิดหม้อไอน้ำเข้าไปให้คำแนะนำก่อน
2. ใช้เชื้อเพลิงอะไร? Gas, Oil, Heavy oil, ไฟฟ้า ถ้า Boiler ขนาดไม่ใหญ่มากแนะนำให้ใช้ Gas เพราะ ราคาถูก สะอาด เผาไหม้สมบูรณ์ บำรุ่งรักษาง่าย
3. จะใช้ Boiler แบบไหน? Fire tube boiler, Water tube boiler, ถ้าขนาด Boiler ไม่ใหญ่มากไม่เกิน 5 ตัน แนะนำลองหาข้อมูลของ Once through Boiler เพราะขนาดเล็ก ทำไอน้ำได้เร็ว และยังประสิทธิภาพสูงด้วย
5. ถ้าจะใช้ Boiler นั้นในการขออนุญาตินั้นเรื่องแรงม้าหม้อไอน้ำมักจะมีปัญหาอยู่เสมอ เราต้องใช้แรงม้าเสียภาษีมาใช้ในกาคำนวณนะครับ เพื่อรวมกับแรงม้าโรงงาน
4. ข้อมูลการขออนุญาติจากหน่วยงานราชการ ที่เราจะต้องยื่นเรื่องเมื่อจะใช้ Boiler คือ กรมโรงงาน กับ กรมแรงงาน โดยส่วนมากผู้ขายจะรวมราคาค่าขอนุญาติมาเรียบร้อยแล้ว แต่สอบถามไว้หน่อยก็ดีนะครับ จะได้ไม่ยุงยากในภายหลังครับ
5. ต้องมีผู้ควบคุมหม้อไอน้ำ ในการดูแลหม้อไอน้ำของเรา และต้องผ่านการอบรมผู้ควบคุมหม้อไอน้ำด้วย ถึงจะถูกต้องครับ
ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมก่อนจะซื้อหม้อไอน้ำ(Buy Boiler?)
1. ในการเลือกหรือเปรียบเทียบขนาดของหม้อไอน้ำ(Boiler) นั้น ที่ส่วนใหญ่ยังเข้าใจสับสนกันอยู่ เช่น สมมุติว่าเราจะใช้ Boiler ขนาด 1 ตันต่อชั่วโมง(1,000 kg/hr.) ส่วนใหญ่มักจะใช้การเปรียบเทียบ Boiler ว่า ตันเท่ากันหรือเปล่า? เพียงเท่านั้น แต่ถ้าเราเข้าใจในเรื่อง พิกัดหม้อไอน้ำ แล้วขอแนะนำให้ดูเรื่องแรงม้าหม้อไอน้ำ(BHP : Boiler horsepower) เสมอ เพราะมันจะมีเรื่องของ Equivalent evaporation กับ Actual evaporation เข้ามาเกี่ยวข้อง เพื่อความสะดวกให้แจ้งเรื่องแรงม้าหม้อไอน้ำ(BHP : Boiler horsepower) มาด้วยในการเปรียบเทียบ หรือแจ้งไปเลยว่า 1 ตันต่อชั่วโมงที่ 8 Bar(1 ton/hr. @ 8 bar) จะได้ไม่ได้ Boiler เล็กกว่าที่เราต้องการ
2. สิ่งสำคัญที่พลาดไม่ได้คงเรื่องประสิทธิภาพหม้อไอน้ำ(Boiler Efficiency) ซึ่งเป็นเรื่องสำญมาก เพราะนั้นมันหมายถึงต้นทุนระยะยาวของโรงงานที่จะตามมา ซึ่งถ้าลองคำนวณในระยาวแล้ว บางทีต้นทุนที่เรามองไม่เห็นจากการใช้งาน Boiler ประสิทธิภาพต่ำนั้น อาจนำมาซื้อ Boiler ตัวไหม่ได้อย่างคาดไม่ถึงลยทีเดียว
3. สอบถามเพื่อนๆ ที่รู้จักเรื่องเรื่อง “บริการหลังการขาย” เพราะ Boiler นั้นจะต้องอยู่กับเราไปอีกนาน ถ้าหาก “บริการหลังการขาย” ไม่ดีแล้วงานเข้า ยิ่งถ้า Boiler ที่จำเป็นต้องใช้อะไหร่จากเจ้าของยี่ห้อเท่านั้น โดยหาซื้อจากที่อื่นไม่ไดด้วยแล้ว ทีนี้เราจะซ่อมมันยังไง?
ยังไงก่อนที่จะตัดสินใจซื้อจะต้องสอบถามข้อมูลจากผู้ขายอย่างละเอียดก่อนนะครับ เพราะผู้ขายจะให้รายละเอียดกับเราได้มากที่สุดอยู่แล้ว หลายๆ เจ้า ก็น่าจะได้ข้อมูลที่ดีขึ้นนะครับ หรือถ้าป็นไปได้ก็ขอไปดูโรงงานที่เขาได้ติดตั้งมาแล้วด้วยยิ่งดี เพื่อช่วยประกอบการพิจารณา
1. ขนาดหม้อไอน้ำ(Boiler)? ที่เราต้องการใช้ กี่กิโลกรัมต่อชั่วโมง กี่ตันต่อชั่วโมง ยังไม่รู้ก็อาจให้ตัวแทนจำหน่าย Boiler หรือผู้ผลิดหม้อไอน้ำเข้าไปให้คำแนะนำก่อน
2. ใช้เชื้อเพลิงอะไร? Gas, Oil, Heavy oil, ไฟฟ้า ถ้า Boiler ขนาดไม่ใหญ่มากแนะนำให้ใช้ Gas เพราะ ราคาถูก สะอาด เผาไหม้สมบูรณ์ บำรุ่งรักษาง่าย
3. จะใช้ Boiler แบบไหน? Fire tube boiler, Water tube boiler, ถ้าขนาด Boiler ไม่ใหญ่มากไม่เกิน 5 ตัน แนะนำลองหาข้อมูลของ Once through Boiler เพราะขนาดเล็ก ทำไอน้ำได้เร็ว และยังประสิทธิภาพสูงด้วย
5. ถ้าจะใช้ Boiler นั้นในการขออนุญาตินั้นเรื่องแรงม้าหม้อไอน้ำมักจะมีปัญหาอยู่เสมอ เราต้องใช้แรงม้าเสียภาษีมาใช้ในกาคำนวณนะครับ เพื่อรวมกับแรงม้าโรงงาน
4. ข้อมูลการขออนุญาติจากหน่วยงานราชการ ที่เราจะต้องยื่นเรื่องเมื่อจะใช้ Boiler คือ กรมโรงงาน กับ กรมแรงงาน โดยส่วนมากผู้ขายจะรวมราคาค่าขอนุญาติมาเรียบร้อยแล้ว แต่สอบถามไว้หน่อยก็ดีนะครับ จะได้ไม่ยุงยากในภายหลังครับ
5. ต้องมีผู้ควบคุมหม้อไอน้ำ ในการดูแลหม้อไอน้ำของเรา และต้องผ่านการอบรมผู้ควบคุมหม้อไอน้ำด้วย ถึงจะถูกต้องครับ
ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมก่อนจะซื้อหม้อไอน้ำ(Buy Boiler?)
1. ในการเลือกหรือเปรียบเทียบขนาดของหม้อไอน้ำ(Boiler) นั้น ที่ส่วนใหญ่ยังเข้าใจสับสนกันอยู่ เช่น สมมุติว่าเราจะใช้ Boiler ขนาด 1 ตันต่อชั่วโมง(1,000 kg/hr.) ส่วนใหญ่มักจะใช้การเปรียบเทียบ Boiler ว่า ตันเท่ากันหรือเปล่า? เพียงเท่านั้น แต่ถ้าเราเข้าใจในเรื่อง พิกัดหม้อไอน้ำ แล้วขอแนะนำให้ดูเรื่องแรงม้าหม้อไอน้ำ(BHP : Boiler horsepower) เสมอ เพราะมันจะมีเรื่องของ Equivalent evaporation กับ Actual evaporation เข้ามาเกี่ยวข้อง เพื่อความสะดวกให้แจ้งเรื่องแรงม้าหม้อไอน้ำ(BHP : Boiler horsepower) มาด้วยในการเปรียบเทียบ หรือแจ้งไปเลยว่า 1 ตันต่อชั่วโมงที่ 8 Bar(1 ton/hr. @ 8 bar) จะได้ไม่ได้ Boiler เล็กกว่าที่เราต้องการ
2. สิ่งสำคัญที่พลาดไม่ได้คงเรื่องประสิทธิภาพหม้อไอน้ำ(Boiler Efficiency) ซึ่งเป็นเรื่องสำญมาก เพราะนั้นมันหมายถึงต้นทุนระยะยาวของโรงงานที่จะตามมา ซึ่งถ้าลองคำนวณในระยาวแล้ว บางทีต้นทุนที่เรามองไม่เห็นจากการใช้งาน Boiler ประสิทธิภาพต่ำนั้น อาจนำมาซื้อ Boiler ตัวไหม่ได้อย่างคาดไม่ถึงลยทีเดียว
3. สอบถามเพื่อนๆ ที่รู้จักเรื่องเรื่อง “บริการหลังการขาย” เพราะ Boiler นั้นจะต้องอยู่กับเราไปอีกนาน ถ้าหาก “บริการหลังการขาย” ไม่ดีแล้วงานเข้า ยิ่งถ้า Boiler ที่จำเป็นต้องใช้อะไหร่จากเจ้าของยี่ห้อเท่านั้น โดยหาซื้อจากที่อื่นไม่ไดด้วยแล้ว ทีนี้เราจะซ่อมมันยังไง?
ยังไงก่อนที่จะตัดสินใจซื้อจะต้องสอบถามข้อมูลจากผู้ขายอย่างละเอียดก่อนนะครับ เพราะผู้ขายจะให้รายละเอียดกับเราได้มากที่สุดอยู่แล้ว หลายๆ เจ้า ก็น่าจะได้ข้อมูลที่ดีขึ้นนะครับ หรือถ้าป็นไปได้ก็ขอไปดูโรงงานที่เขาได้ติดตั้งมาแล้วด้วยยิ่งดี เพื่อช่วยประกอบการพิจารณา
ENGINEER- ผู้มาเยือน
Similar topics
» วิธีคำนวณแรงม้าเสียภาษีของหม้อไอน้ำ(Boiler)
» รู้ข้อดี Once through boiler.
» ความหมายของ BHP หรือ แรงม้าหม้อไอน้ำ? จากพิกัดหม้อไอน้ำ (Boiler)
» รู้ข้อดี Once through boiler.
» ความหมายของ BHP หรือ แรงม้าหม้อไอน้ำ? จากพิกัดหม้อไอน้ำ (Boiler)
หน้า 1 จาก 1
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ